HOMETOWN & UNIVERSITYNEWS & INFORMATIONCOURSESGALLERYFORUM 4UFAQs
คาชการ์ | Kashgar

Kashgar หรือ คาชการ์ เมืองที่ตั้งอยู่สุดพรมแดนทางตะวันตกของจีน เป็นจุดบรรจบแห่งอารยธรรมโบราณบนเส้นทางสายไหมอันเก่าแก่ ในอดีตเป็นเมืองที่เคยผ่านการถูกยึดครองมาทั้งจาก อังกฤษ รัสเซีย ชนชาติอาหรับ และ จีน

เมืองโอเอซิสแห่งนี้ตั้งอยู่บนแอ่งที่ราบ Tarim บนขอบทะเลทราย Talamakran อันกว้างใหญ่ ติดอันดับ 2 ของโลก (รองจาก ทะเลทราย Sahara) ที่นี่อาจ เป็นเพียง แห่งเดียวในโลกที่ผู้มาเยือนจะมีโอกาสได้เห็นแขกอิสลาม คีบตะเกียบ กินก๋วยเตี๋ยว

ชาวพื้นเมืองใน Kashgar
ยังคงใช้ชีวิต และ แต่งกายไม่ต่างจากในอดีต

ตลาดประมูลค้าสัตว์ ส่วนหนึ่งของ Sunday Market กลางเมืองเก่า Kashgar ในบรรยากาศสีฝุ่น และ เสียงอื้ออึงของการเจรจาต่อรองสัตว์ที่ถูกนำมาประมูลขายมีทั้ง แกะ แพะ วัว ม้า อูฐ ไปจนถึงตัวยัค

ร้านตัดผมกลางแจ้งข้างสุเหล่า Idkah
สุเหร่าใจกลางเมืองที่มีความสำคัญ และ ใหญ่ที่สุดในจีน

ชีวิตหลากหลายในตลาด Kashgar เป็นที่รวมของพ่อค้าจากที่ต่างๆ ทั้ง จีน รัสเซีย ปากีสถาน และ ประเทศอื่นๆในแถบเอเชียกลาง

สาว Kashgar ยึดถือเคร่งครัดกับการแต่งกายตามแบบประเพณี

พ่อค้าพื้นเมืองใน Sunday Market หรือที่เรียกว่า Bazaar ตลาดที่คึกคักและมีสีสรรที่สุดในเอเชียกลาง

สามล้อเทียมม้าอย่างในนิทานอาหรับ
ยังหาดูได้ ทั่วไป ตามท้องถนนในเมือง Kashgar

สถานที่บรรจุศพของกษัตริย์ Abakh Hojaตระหง่านยืนหยัดมาแต่ปี ค.ศ.1442 ในยุคที่ Kashgar มีความเป็นปึกแผ่นที่สุด

ห้องบรรจุโลงศพของบรรดาเชื้อพระวงศ์

ขนมปังไส้แพะ
อาหารประทังชีพ ที่จะพลาดไม่ได้บนเส้นทางสายนี้


ความบังเอิญ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันกับชีวิตการเดินทาง
คือ สิ่งที่ทำให้คนต่างเผ่าพันธุ์ได้มาพบเจอกันบนเส้นทางสายนี้

หนึ่งหนุ่มใหญ่ชาวปากีสถานที่กำลังเดินทางกลับบ้านเกิด กับอีกหนุ่มน้อยจากแดนอาทิตย์อุทัย แม้ผ่านร้อนหนาวมาเพียง 22 ปี แต่ก็กำลังลำพังอยู่บนเส้นทางสู่ความใฝ่ฝันส่วนตัว ที่จะเดินทางรอบโลกให้ได้ภายใน 50 วัน แกยังบอกอีกว่าหลังจากที่ข้ามชายแดนเข้าสู่ปากีสถานแล้ว จะเดินทางต่อไปยังอิหร่าน ตุรกี ก่อนจะเข้าสู่ยุโรป อเมริกา และ กลับสู่ญี่ปุ่น .... ขอให้โชคดีพ่อหนุ่มน้อย

พาหนะหยุดพักที่ด่านตรวจขณะไต่ความสูงจาก Kashgar เมืองทะเลทราย
ขึ้นสู่ทะเลสาป Karakul บนที่ราบสูง Parmir

ได้สูดอากาศเต็มปอด และ เห็นฟ้าชัดเต็มตาจะมีอะไรดีไปกว่านี้

ยอดเขาหิมะ Muztagh Ata (7,546 เมตร)
อีกเช้าวันอันสดใสที่ไม่อยากให้จากไป

ทะเลสาป Karakul
สง่างามอยู่บนความสูง 3,700 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล

สงบเงียบกับความง่ายงามริมทะเลสาปยามเช้า

ยานพาหนะคู่ใจของชาว Kyrgyz

สาวเลี้ยงแกะ ชาว Kyrgyz ริมทะเลสาป

บริเวณรอบๆทะเลสาป คือ ถิ่นที่อยู่ของชาว Kyrgyz บ้างก็ปลูกบ้านรวมกลุ่มอยู่ใกล้กัน เป็นเสมือนหมู่บ้านเล็กๆ บ้างก็ออกมาสร้างเต็นท์หรือกางกระโจมอยู่ตามทุ่งหญ้าริมทะเลสาป

แวะพักเหนื่อยสั่งก๋วยเตี๋ยว ในกระโจมของชาว Kyrgyz ริมทะเลสาป ได้เห็นกรรมวิธี ตั้งแต่เริ่มนวดแป้ง จนมาเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวในชามซุป

Glacier หรือ ธารน้ำแข็งริมทะเลสาป วางตัวเรียงในแบบ panorama

2 สาวในทุ่งกว้าง ชาว Tajik ชนกลุมน้อยที่มีลักษณะรูปพรรณสัณฐาน การแต่งกายและขนบประเพณีที่คล้ายคลึงชาวตะวันตกมากที่สุด และ ยังคงได้รับการอนุรักษ์ รักษาไว้เป็นอย่างดี

ชายแดนจีน-ปากีสถาน หรือ Khunjerab Pass สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 4,700 เมตร บนเทือกเขา Karakoram ส่วนหนึ่งของ Karakoram Highway จุดที่ดึงดูดนักปั่นน่องทอง ปอดเหล็กจากทั่วโลกให้เดินทางผ่านมาเยือนในแต่ละปี เฉพาะในช่วงฤดูร้อนจากพฤษภาคมถึงกันยายนเท่านั้น จากจุดนี้จะอยู่ห่างจาก Kashgar 400 กิโลเมตร ไปทางเหนือ และ Islamabad (เมืองหลวงปากีสถาน) 860 กิโลเมตรไปทางใต้
รถบรรทุกจาก Gilgit
วิ่งข้ามขนส่งสินค้าไปมาระหว่างทั้ง 2 ฝั่ง ชายแดน จีน-ปากีสถาน
Tashkurgan (ความสูง 3,600 เมตร จากระดับน้ำทะเล) เมืองชายแดนสุดท้ายก่อนข้ามไปปากีสถาน เป็นแหล่งพักพิงสุดท้าย ของชาว Tajik ที่ยังคงเหลือตกค้างอยู่ในจีนราว 20,000 คน จัดเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญที่มีการควบคุมการเข้าออก ของคนต่างถิ่นอย่างเข้มงวด ทั้งยังเป็นจุดพักของรถขนส่งและรถบรรทุกที่สัญจรไปมาระหว่าง 2 ฝั่งประเทศ ในฤดูหนาว (ตุลาคม ถึง เมษายน) ของทุกปี เมืองจะอยู่ในสภาพถูกตัดขาดจากโลกภายนอก พร้อมกับการปิดจุดผ่านแดนที่ช่องเขา Khunjerab เนื่องจากหิมะปิดทาง